วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553


ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุดตามนิยามดาวเคราะห์ใหม่ที่ไม่จัดดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ ดาวดวงนี้ถูกค้นพบครั้งแรกด้วยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เนื่องมาจากมีเหตุการณ์ที่วงโคจรของดาวยูเรนัสมีความผิดปรกติ นักวิทยาศาสตร์จึงสงสัยว่า จะต้องมีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มีแรงดึงดูดสูงพอที่จะเปลี่ยนเส้นทางการโคจรของดาวยูเรนัสได้ ผลที่ได้ก็คือ การค้นพบดาวเนปจูนโดยนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ เออร์เบน โจเซฟ ลี เวอเลียร์ (Urbain Joseph Le Verrier) เป็นผู้คำนวณและส่งผลไปไห้นักดาราศาสตร์เยอรมันชื่อ โจฮัน ก็อทฟรีด กาลล์ (Johann Gotfried Galle) เพื่อส่องกล้องหาดาวเคราะห์ตามตำแหน่งที่ได้คำนวณไว้ ซึ่งเขาสามารถพบดาวเนปจูนในคืนแรกของการสำรวจ ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงินเข้มซึ่งเกิดจากมีเทนและธาตุอื่นซึ่งยังไม่เป็นที่เข้าใจของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน สนามแม่เหล็กของดาวเนปจูนมีลักษณะแปลกเช่นเดียวกับดาวยูเรนัสคือมีแกนสนามแม่เหล็กเอียงออกมาจากแกนการหมุนรอบตัวเองถึง 47 องศา และมีสภาพสนามแม่เหล็กที่ซับซ้อน ขณะนี้เราค้นพบดาวบริวารของดาวเนปจูนจำนวน 13 ดวง ดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเนปจูน คือ ไทรทัน (Triton) ซึ่งเป็นวัตถุที่เย็นที่สุดเท่าที่เคยพบมาในระบบสุริยะ (อุณหภูมิผิวประมาณ -235 องศาเซลเซียส)
เมื่อดาวยูเรนัสถูกค้นพบ คนได้วันเส้นทางของมันผ่านอวกาศ การหมุนรอบของดาวยูเรนัสมีลักษณะผิดปกติบางคนคิดว่าจะต้องมีดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีกดวงหนึ่ง ดาวเคราะห์ที่ไม่เป็นที่รู้จักอาจอยู่ถัดจากดาวยูเรนัส แรงโน้มถ่วงของมันอาจจะดึงไปที่ดาวยูเรนัสจึงทำให้การหมุนของมันเปลี่ยนแปลง ในปี 1845 นักดาราศาสตร์สองคนที่ทำงานคนละที่ในอังกฤษและฝรั่งเศสรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงใหม่อยู่ที่ใหน ทั้งสองมีความเห็นตรงกัน คนอื่นๆก็เริ่มลงมือศึกษาดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ ในปี 1846 ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle ได้พบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ มันอยู่ในตำแหน่งที่นักดาราศาสตร์คนอื่นได้ระบุไว้ก่อนแล้ว ดาวเคราะห์ดวงใหม่มีสีน้ำเงินมีชื่อว่าดาวเนปจูนตามชื่อเทพเจ้าแห่งทะเลโรมัน
ดาวเนปจูนโตเกือบเท่าดาวยูเรนัส มันเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ มันอยู่ห่างไกลจากโลกมาก จึงทำให้มองเห็นสลัวมาก ดาวเนปจูนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา มันดูคล้ายกับดาวฤกษ์ ยังไม่มียานอวกาศที่เคยไปยังดาวเนปจูน สิ่งที่เรารู้ทั้งหมดก็คือ ดาวเคราะห์ดวงนี้มองเห็นจากโลก

ก็เหมือนกับดาวยูเรนัส มีมหาสมุทร น้ำที่ลึกล้อมรอบแกนหินซึ่งอยู่ใจกลางของดาวเนปจูน บรรยากาศของดาวเนปจูนไม่เต็มไปด้วยหมอกเหมือนกับดาวยูเรนัส กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่แสดงให้เห็นแถบกลุ่มควันขาวที่หมุนรอบดาวเนปจูน บรรยากาศจะเย็นมาก กลุ่มควันประกอบด้วยมีเทนที่แข็ง บางครั้งกลุ่มควันเหล่านี้จะกระจายออกและปกคลุมดาวเนปจูนทั้งดวง อาจมีลมพัดจัดบนดาวเนปจูน ลมเกิดจากอากาศร้อนที่ลอยขึ้น ลมเย็นพัดเข้าไปแทนที่ บนดาวเนปจูน ความร้อนต้องมาจากภายในเพื่อทำให้ลมพัด ในเดือนสิงหาคม ปี 1989 ยานวอเยเจอร์ 2 ได้ไปถึงดาวเนปจูน มันบินผ่านและส่งภาพและการวัดกลับมายังพื้นโลกเราคงมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับดาวเนปจูน ต่อจากนั้น ยานวอเยเจอร์ 2 จะบินออกจากระบบสุริยะตั้งแต่ได้ออกจากโลกไปในปี 1977 ยานอวกาศจะบินผ่านดาวเคราะห์ชั้นนอกสี่ดวง ยังไม่มียานลำใดที่ได้ไปยังดาวเคราะห์ต่างๆมากเหมือนยานวอยาเจอร์

ส่วนโค้งและดาวบริวารของดาวเนปจูน
หลังจากที่ได้มีการค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวน คนเริ่มมองหาวงแหวนรอบๆดาวเนปจูนเขาใช้กล้องโทรทัศน์มองดูดาวเนปจูนเมื่อมันเคลื่อนใกล้ดาวฤกษ์ ถ้าดาวเนปจูนมีวงแหวนมันก็จะผ่านด้านหน้าของดาวฤกษ์ วงแหวนแต่ละวงจะตัดแสงของดาวฤกษ์ชั่วขณะหนึ่ง ในปี 1981 นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งได้เห็นการลิบหรื่ของดาวฤกษ์ ตั้งแต่นั้น คนบางคนได้เห็นการลิบหรื่แต่บางคนไม่เห็นอะไรเลย บางมีดาวเนปจูนอาจมีวงแหวนที่เป็นชิ้นส่วนที่แตกออกเป็นชิ้นๆมันอาจมีส่วนโค้งสั้นๆ แทนที่จะเห็นวงแหวนทั้งวง ส่วนโค้งจะหมุนรอบดาวเนปจูน

ดาวบริวาร
นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารสองดวงที่หมุนรอบดาวเนปจูน ดาวดวงหนึ่งมีขนาดเล็กชื่อว่า Neried ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ไมล์ และหมุนรอบห่างจากดาวเนปจูน 3,475,000 ไมล์ ดาวบริวารดวงอื่นๆของดาวเนปจูนคือดาว Triton มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,100 ไมล์เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สี่ ดาว Triton อาจมีบรรยากาศ มันอาจมีมหาสมุทรมีเธนและไนโตรเจนมันหมุนรอบดาวเนปจูนโดยห่างจากดาวเนปจูนเป็นระยะทาง 220,625 ไมล์ ดาว Triton หมุนรอบดาวเนปจูนในทิศทางตรงกันข้ามจากดาวบริวารส่วนใหญ่ มันยังเคลื่อนไหวเข้าไกล้ดาวเนปจูนในเวลา 10 ล้าน ถึง 100 ล้านปี มันอาจปะทะกับดาวเนปจูนหรือมันอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆและก่อตัวเป็นรูปวงแหวนขนาดกว้างล้อมรอบดาวเนปจูน

เนปจูน เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 8 จาก ดวงอาทิตย์และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ (โดยเส้นผ่านศูนย์กลาง) เนปจูนมีเส้นผ่านศูนย์กลางสั้นกว่าดาวยูเรนัส แต่มีมวลมากกว่า วงโคจร: 4,504,000,000 ก.ม. (30.06 AU) จากดวงอาทิตย์ เส้นผ่านศูนย์กลาง: 49,532 ก.ม. (เส้นศูนย์สูตร) มวล: 1.0247 x 1026 ก. ก. ในปี 1846 ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle ได้พบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ มันอยู่ในตำแหน่งที่นักดาราศาสตร์คนอื่นได้ระบุไว้ก่อนแล้ว ดาวเคราะห์ดวงใหม่มีสีน้ำเงินมีชื่อว่าดาวเนปจูนตามชื่อเทพเจ้าแห่งทะเล เนื่องจากวงโคจรของ ดาวพลูโต เป็นวงรีมาก, บางครั้งมันจะตัดกับวงโคจรของเนปจูน ทำให้เนปจูนเป็นดาวเคราะห์ซึ่งอยู่ใกลที่สุดในบางปี เนปจูน มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับยูเรนัส: หลายรูปแบบของ " น้ำแข็ง" และหิน ไฮโดรเจน 15% และไฮโดรเจนจำนวนเล็กน้อย คล้ายยูเรนัสแต่ไม่เหมือน ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์, มันไม่มีชั้นภายในที่ชัดเจน มันมีแกนที่เล็ก (มีมวลประมาณเท่าโลก) เป็นวัตถุประเภทหิน บรรยากาศเต็มไปด้วย ไฮโดรเจนและ ฮีเลียม มีมีเทนจำนวนเล็กน้อย



เนปจูน มีสีฟ้า ซี่งเป็นมาจากการดูดกลืนแสงสีแดง โดยมีเทนในชั้นบรรยากาศ เหมือนกับ ดาวเคราะห์แก๊ส โดยทั่วไป, เนปจูนมีลมพัดแรงมาก ซึ่งจำกัดตาม แนวละติจูด และพายุหมุนขนาดใหญ่ ลมของเนปจูนพัดแรงที่สุดในระบบสุริยะ มันมีความเร็วถึง 2,000 ก.ม./ชั่วโมง เช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดี และดา เสาร์, เนปจูนมีแหล่งความร้อนภายใน มันแผ่รังสีมากกว่า 2 เท่า ของที่รับจากดวงอาทิตย์

กลุ่มควันน้ำแข็ง

เนปจูนก็มีวงแหวนเช่นกัน การสำรวจจากกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกแสดง เพียงอาร์ควงกลม แทนที่จะ เป็นวงแหวน, แต่ภาพถ่ายจาก ยานวอยเอเจอร์ 2 แสดงวงแหวนที่สมบูรณ์ และใน บางช่วงจะสว่างเป็นพิเศษ มีวงแหวนวงหนึ่งมีโครงสร้างที่บิดเป็นเกลียวอย่างเห็นได้ชัด (ขวา) เหมือนกับดาวยูเรนัส และ ดาวพฤหัสบดี, วงแหวนของเนปจูนมืด และยังไม่ทราบองค์ประกอบ


วงแหวนของดาวเนปจูนมีชื่อเรียกขาน: วงนอกสุดชื่อ อดัมส์ (ซึ่งประกอบด้วยอาร์ควงกลมสะดุดตา 3 อาร์ค ชื่อ ลิเบอร์ตี้, อีควอลิตี้ และฟราเทอนีตี้). วงถัดเข้ามา ไม่มีชื่อ ใช้วงโคจรร่วมกับ ดวงจันทร์กาลาที, วงถัดมาชื่อ เลอเวอร์เรียร์ (ซึ่งมีส่วนต่อออกไปชื่อ ลาสเซล และอราโก) และวงสุดท้าย บางแต่กว้างชื่อ กัลเล สนามแม่เหล็กของดาวเนปจูน มีรูปทรงประหลาดคล้ายของดาวยูเรนัส บางทีมันอาจกำเนิดจาก การเคลื่อนที่ของวัตถุตัวนำ (ซึ่งอาจเป็นน้ำ) ในชั้นกลางของดาว

นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารสองดวงที่หมุนรอบดาวเนปจูน ดาวดวงหนึ่งมีขนาดเล็กชื่อว่า Neried ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ไมล์ และหมุนรอบ ห่างจากดาวเนปจูน 3,475,000 ไมล์ ดาวบริวารดวงอื่นๆของดาวเนปจูนคือดาว Triton มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,100 ไมล์เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สี่ ดาว Triton อาจมีบรรยากาศ มันอาจมีมหาสมุทรมีเธนและไนโตรเจนมันหมุนรอบดาวเนปจูนโดยห่างจากดาวเนปจูนเป็นระยะทาง 220,625 ไมล์ ดาว Triton หมุน รอบดาวเนปจูนในทิศทางตรงกันข้ามจากดาวบริวารส่วนใหญ่ มันยังเคลื่อนไหวเข้าไกล้ดาวเนปจูนในเวลา 10 ล้าน ถึง 100 ล้านปี มันอาจปะทะกับดาวเนปจูน หรือมันอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆและก่อตัวเป็นรูปวงแหวนขนาดกว้างล้อมรอบดาวเนปจูน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น