วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553


ดาวอังคาร (Mars)

ดาวอังคารบางทีก็เรียกกันว่าดาวแดงเพราะผิวพื้นเป็นหินสีแดง หินบนดาวอังคารที่มีสีแดงก็เพราะเกิดสนิมท้องฟ้าของดาวดังคารเป็นสีชมพูเพราะฝุ่นจากหินแดงที่ว่านี้ ผิวของดาวอังคารเหมือนกับทะเลหินแดง มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบ เหว และเนินมากมาย หนึ่งปีบนดาวอังคารเกือบเทาสองปีโลก แต่หนึ่งวันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อยดาวอังคารมีอากาศห่อหุ้มอยู่ไม่มากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลมพัดแรงจัดทำให้ฝุ่นฟุ้ง ไปทั้งดวงดาว ดาวอังคารมีขนาดโตประมาณครึ่งหนึ่งของโลก ดาวอังคารอยูไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลกจึงทำให้มีบรรยากาศหนาวเย็น อุณหภูมิบนดาวดวงนี้จะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์บนฟ้าทั้งหมด เพราะเคยมีคนเชื่อว่า มีมนุษย์อยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆ กับดาวศุกร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน 40 ล้านกิโลเมตร เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุด ส่องดาวอังคารขณะอยู่ใกล้โลกที่สุด จะเห็นรายละเอียดได้ถึง 150 กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ที่กำลังแยกภาพขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่นไม่เห็นภูเขาหรือหุบเหว หรือหลุมบ่อของดาวอังคาร แต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นขั้วน้ำแข็งสีขาว หรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร สาเหตุที่มีผู้เชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคาร เนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ จิโอวานนี ชิอาพาเรลลี รายงานเมื่อ พ.ศ. 2420 ว่าเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่งพบร่องที่เป็นเส้นตรงจำนวนมากบนพื้นผิว และเรียกเป็นภาษาอิตาลีว่า คานาลี (canale) ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า channel (ช่องหรือทาง) แต่คนอังกฤษเอาไปแปลว่า canal (คลอง) อันเป็นสิ่งซึ่งต้องขุดสร้างขึ้น ผู้ขุดสร้างคลองบนดาวอังคารจึงต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคาร เพื่อนำน้ำจากขั้วมายังบริเวณศูนย์สูตรสำหรับการเพาะปลูก จุดนี้เองที่นำไปสู่การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อว่ามีมนุษย์ดาวอังคาร ซึ่งจะเดินทางมาบุกโลก ผู้ที่สนับสนุกความคิดเรื่องมนุษย์ดาวอังคารสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก คือ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์อเมริกันและเป็นสมาชิกของครอบครัวที่มั่งคั่งในรัฐแอริโซนา เขาได้ทำแผนที่แสดงคลองต่างๆ บนดาวอังคาร แต่ต่อมามีนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพที่ดีกว่า ตรวจไม่พบคลองบนดาวอังคาร แต่ชาวบ้านทั่วไปยังฝังใจเชื่ออยู่ จนกระทั่งถึงยุคอวกาศจึงปรากฏชัดว่าไม่มีคลองบนดาวอังคารแน่นอน พื้นผิวดาวอังคารมีหลุมบ่อ หุบเหว ภูเขา และมีปล่องภูเขาไฟ มีร่องเหมือนเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ดังจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อการสำรวจดาวอังคารโดยยานอวกาศ

ยานอวกาศลำแรกที่ประสบความสำเร็จในการผ่านใกล้ดาวอังคาร คือ ยานมารีเนอร์ 4 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ภาพที่ถ่ายทอดกลับมาจำนวน 22 ภาพแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวอังคารมีหลุมและบ่อมากมาย ยานอวกาศมารีเนอร์อีกหลายลำต่อมา สามารถถ่ายภาพพื้นผิวรวมกันแล้วได้ครบทั่วทุกบริเวณ โดยเห็นภาพละเอียดถึง 1 กิโลเมตร ภาพถ่ายเหล่านี้ช่วยให้นักภูมิศาสตร์ทำแผนที่ของดาวอังคารได้ทั้งดวง บนพื้นผิวของดาวอังคารจึงพบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางธรณีวิทยา เช่น ปล่องภูเขาไฟ หุบเหวกว้างและลึกร่องที่เหมือนกับร่องน้ำที่เคยเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ยานที่สำรวจดาวอังคารต่อจากยานมารีเนอร์ คือ ยานไวกิง 2 ลำ แต่ละลำประกอบด้วยยานลำแม่ที่เคลื่อนรอบดาวอังคาร ในขณะที่ส่งยานลูกลงสัมผัสพื้นผิวดาวอังคาร ยานไวกิง 1 ลงที่ไครส์ พลาทิเนีย (Chryse Planitia) ซึ่งแปลว่า ที่ราบแห่งทองคำ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เป็นเวลา 7 ปีหลังจากที่ นีล อาร์มสตรอง เหยียบดวงจันทร์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ยานไวกิง 2 ก็ลงในที่ราบทางเหนือชือที่ราบยูโทเปีย (Utopia) ยานทั้งสองมีแขนกลยื่นออกไปตักดินบนดาวอังคารมาวิเคราะห์ภายในยาน เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิต หรือซากของสิ่งมีชีวิต แต่การวิเคราะห์ไม่ยืนยันว่ามีหรือเคยมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ต่อจากยานไวกิงคือ ยานมาร์สพาธไฟเดอร์ ที่นำรถโซเจนเนอร์ไปด้วย ยานได้ลงบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2540 ภาพที่น่าตื่นเต้นคือการติดตามรถคันเล็กๆ เคลื่อนที่สำรวจก้อนหินใกล้ฐานซึ่ง ต่อมาได้รับชื่อว่า ฐานเซแกน ภาพก้อนหินที่เรียงในทิศทางเดียวกันชี้ให้ เห็นว่าบนดาวอังคารเคยมีน้ำไหลมาก่อน ล่าสุดยานมาร์สโกลบอล เซอร์เวเยอร์ ซึ่งกำลังเคลื่อนรอบดาวอังคารได้ส่งภาพหุบเหวที่เป็นร่องลึกหรือที่เรียกว่า แคนยอน ซึ่งคดเคี้ยวไปมา ในอนาคตสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีโครงการที่จะส่งยานอวกาศไปเก็บดินจากดาวอังคารกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการบนโลก และอีกไม่นานมนุษย์จะเดินทางไปดาวอังคารเช่นเดียวกับการลงบนดวงจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2512

ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ ♂ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและไดมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพืลงในนิตรสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตร[3][4] นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือ คาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาล

เหมือนทะเลทราย ออกซิเจนน้อย

ปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับดาวอังคารค่อนข้างมาก แม้ว่าดูจากภาพถ่ายแล้ว พื้นผิว
ดาวอังคาร มองดูคล้ายกับทะเลทราย หรือคล้ายกับ ภูเขาไฟ บนโลกแต่สภาพ
บรรยากาศนั้น แตกต่างกัน เราลองสัมผัสบรรยากาศดู จะพบกับความกดดันที่ต่ำ กว่าโลกเล็กน้อย ประมาณ 1% รอบๆตัว ขณะยืนอยู่บนดาวอังคาร สูดหายใจได้
บ้างแต่อึดอัดเพราะ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากถึง 95% ทีเหลือเป็น อากอน
และก๊าซไนโตรเจน

เหตุขาดแคลน ก๊าซออกซิเจน เพราะไม่มีชั้นบรรยากาศโอโซน (Ozone layer)
ด้วยผลกระทบ จากรังสีอุตตร้าไวโอเลทของ ดวงอาทิตย์ ทำให้ชั้นโอโซนของ
ดาวอังคารเสียหาย มีความผิดปกติมานาน

มีฤดูร้อน ฤดูหนาว น้ำแข็งแห้งปกคลุมหนา

หนึ่งวันของดาวอังคารมี 24.6 ชั่วโมง ถือว่าใกล้เคียงกับโลก ถ้าเราอยากจะสัมผัส
ฤดูกาลทั้ง 2 ฤดู บนดาวอังคารต้องใช้เวลา 20 เดือน ซึ่งเท่ากับโลก 1 ปี เมื่อเทียบ
กับเวลาโลกเพราะดาวอังคารหมุนรอบดวงอาทิตย์ ช้ากว่าโลกทำให้ทุกฤดูกาลยาว
นานกว่าโลก

เนื่องด้วยวงโคจรลักษณะเป็นรูปไข่และแกนเอียง 25 องศา ทำให้เกิดฤดูี่แตกต่าง
กันสองแบบ ระหว่างขั้วเหนือและขั้วใต้ โดยขณะที่ดาวอังคาร เริ่มมีระยะห่างจาก
ดวงอาทิตย์ จะโคจรช้าลง ด้านขั้วเหนือเกิดฤดูร้อนที่ยาวนานมีลมเย็น -5 องศา C

ส่วนด้านขั้วใต้ เกิดฤดูหนาวยาวนาน ที่จุดเหยือกแข็ง - 87องศา C มี ก๊าซคาร์บอน
ไดออกไซด์ ลักษณะเป็น น้ำแข็งแห้ง (Dry ice) ปกคลุมเหมือน หมวกครอบบน
ขั้วมีความหนา เรียกว่า Polar caps (บริเวณปกคลุมขั้วน้ำแข็ง)


ลมพายุใบจักร บนดาวอังคาร

โดยรวมแล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ใน 3 บน ดาวอังคารจะเคลื่อนตัวไปมา
ตามกลไกอากาศระหว่างด้านขั้วเหนือและขั้วใต้ ปรากฎการณ์ดังกล่าวบางครั้งเกิด พายุฝุ่นขนาดใหญ่เข้ามาสมทบ พัดพาสิ่งต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนินทราย ขนาดใหญ่บนพื้นผิว มีสีสันต่างกัน

เพราะฉะนั้นในช่วง 200 ปีทีผ่านมา การสำรวจด้วยกล้อง ที่นักดาราศาสตร์โบราณ
มองจากโลกจึงเข้าใจผิดว่าเป็น การเปลี่ยนของพืชพันธ์ไม้และมีคลองชลประทาน
บนดาวอังคาร

ขณะยืนอยู่ที่โล่งแจ้ง บนดาวอังคารเหมือนกับทะเลทรายอันว่างเปล่า แล้วเป็น
เวลาเดียวกับการเกิดพายุแล้ว มีโอกาสได้รับบาดเจ็บได้ เพราะลักษณะพายุเป็น
ลมหมุนแบบโทนาโด มาพร้อมกับก้อนหินมากมาย คล้ายกับพายุลูกเห็บ บนโลก
เรียกว่า Dust devils บนดาวอังคารเรียกว่า Wind vanes (ลมพายุใบจักร) ทั้งนี้
เกิดการก่อตัวพราะ ความร้อนสะสมจากดวงอาทิตย์ บริเวณพื้นผิวส่วนมีลักษณะ
หมุนก็เพราะกระแสลมแรงพัด แบบสลับทิศทางกัน

น้ำบนดาวอังคาร หายไปไหน

บนดาวอังคารนั้น พบหลักฐานบ่งชี้ชัดมีจุลชีพขนาด เล็กมากอาศัยอยู่ทำให้เชื่อได้
ว่าบนดาวอังคารต้องมีแหล่งน้ำ การค้นหาแหล่งน้ำในอดีตพบถึงแนวไหลของน้ำ
เหมือนคลองที่แห้ง รอยกัดเซาะจากปริมาณน้ำที่ล้นฝั่ง

แต่ก็ยังอธิบายไม่ได้ว่า น้ำเกิดขึ้นบนดาวอังคาร ด้วยสภาพอากาศแบบใด หรือเกิด
จากน้ำใต้ดิน การใช้เครื่องมือพิเศษทำการตรวจสอบ มีความแน่ใจว่าพื้นผิวดาว
อังคารเต็มไปด้วยร่องรอย รูปแบบการกัดเซาะของน้ำเหมือนบนโลก เชื่อว่าบริเวณ
ขั้วที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งแห้ง น่าจะเก็บร่องรอยอดีต นับพันล้านปีเอาไว้

ถ้าเช่นนั้น น้ำเหล่านั้นหายไปไหน ประการแรก ปกติน้ำมีการระเหยตัวสู่อากาศได้
ตลอดเวลาอยู่แล้ว ส่วนประการที่สอง บางส่วนที่ยังคงอยู่ หากมีการเปลี่ยนแปลง
สถานะเป็นน้ำแข็งจมอยู่ใต้ผิวดิน แต่ถ้าน้ำแข็งเหล่านั้นยังคงมีอยู่ ความร้อนของ
ภูเขาไฟ ทำให้ละลายไหลออกมาได้


ดาวอังคารใกล้โลก

นับจากเวลาประมาณ 19.00 น. ไปจนถึงเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เราจะมองเห็นดาวอังคารสว่างข่มแสงดาวดวงอื่น ๆ บนท้องฟ้า ปีนี้เป็นที่ค่อนข้างพิเศษสำหรับดาวอังคาร เนื่องจากวันที่ 27 สิงหาคม 2546 ตัวเลขระยะห่างระหว่างโลกกับดาวอังคารบ่งบอกว่าโลกและดาวอังคารมีระยะใกล้กันมากที่สุดในรอบหลายหมื่นปี แต่อย่างไรก็ดีโดยปกติดาวอังคารจะใกล้โลกเป็นพิเศษอยู่แล้วทุก ๆ ประมาณ 15 ปี หรือ 17 ปี เพียงแต่ปีนี้จะใกล้มากขึ้นอีกเล็กน้อย นักดาราศาสตร์สมัครเล่นและผู้สนใจควรจะหาเวลาในช่วงนี้ที่จะดูดาวอังคารก่อนจะถึงวันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกที่สุด เนื่องจากในช่วงเวลานั้น อาจมีโอกาสที่จะดูดาวอังคารได้ไม่มากนักเพราะท้องฟ้าอาจปิดเนื่องจากเมฆฝน

โลกและดาวเคราะห์ในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบที่แตกต่างกัน เราเรียกจังหวะเวลาที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคารโคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลางว่าดาวอังคารมาอยู่ ณ ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ช่วงเวลาที่ดาวอังคารใกล้โลกมากที่สุดนั้น ดาวอังคารจะขึ้นทางทิศตะวันออกขณะที่ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก และปรากฏอยู่บนฟ้าตลอดทั้งคืนจนกระทั่งคล้อยต่ำลงและตกทางทิศตะวันตกขณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด โดยเฉลี่ยดาวอังคารจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี

แต่ละครั้งที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดาวอังคารจะมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากดาวอังคารมีวงโคจรที่เป็นวงรีค่อนข้างมาก ขณะที่ดาวอังคารอยู่ที่ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 207 ล้านกิโลเมตร แต่เมื่อถึงตำแหน่งไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 249 ล้านกิโลเมตร ดังนั้นหากดาวอังคารมาอยู่ ณ ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวอังคารก็จะมีระยะห่างที่ใกล้โลกมากเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้ดาวอังคารสว่างและมีขนาดใหญ่กว่าในช่วงเวลาอื่น ๆ เมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ ครั้งล่าสุดที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ คือ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 และจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปลายเดือนสิงหาคมของปีนี้

นิตยสารดาราศาสตร์ Sky & Telescope ฉบับเดือนมิถุนายนรายงานว่า ข้อมูลผลคำนวณโดยนักดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์ท้องฟ้าในอิตาลีแสดงว่า ดาวอังคารเคยเข้าใกล้โลกมากกว่าการเข้าใกล้ในปีนี้เมื่อปี 57,617 ก่อนคริสต์ศักราช และจะเข้าใกล้มากกว่าครั้งนี้อีกเล็กน้อยในปี ค.ศ. 2287 นั่นหมายความว่าโลกและดาวอังคารไม่เคยเข้าใกล้กันมากเท่านี้มาเกือบ 60,000 ปีแล้ว แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวดูจะน่าตื่นเต้น แต่ความจริงก็คือ ในทางปฏิบัติขนาดปรากฏที่มองเห็นได้นั้นไม่ต่างกันหรือมีนัยสำคัญที่พิเศษกว่ากันมากมายแต่อย่างใด หลังจากนี้ไป เรายังสามารถมองเห็นดาวอังคารด้วยขนาดปรากฏใกล้เคียงกับปีนี้ในอีก 15 ปีข้างหน้า

ในอดีตซึ่งเป็นยุคสมัยที่ไม่มีกล้องโทรทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล หรือยานอวกาศที่ไปโคจรรอบดาวอังคารอย่างในปัจจุบัน นักดาราศาสตร์จะใช้ช่วงเวลาที่ดาวอังคารใกล้โลกในการสังเกตร่องรอยและทำแผนที่พื้นผิวดาวอังคาร พร้อมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลบนดาวอังคารจากสีสัน ขนาดของผืนน้ำแข็งที่ขั้วดาวอังคาร และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของดาวอังคารให้ได้มากที่สุด

ท่านที่ไม่มีกล้องโทรทรรศน์หรือไม่รู้จักกลุ่มดาวบนท้องฟ้าก็สามารถมองเห็นดาวอังคารได้ด้วยตาเปล่าและไม่ยากเกินไป เพราะปีนี้ดาวอังคารจะเป็นดาวเคราะห์ที่สว่าง ปรากฏมีสีส้มไม่กระพริบแสงหรือกะพริบน้อยมากต่างจากดาวฤกษ์ทั่วไป ต้นเดือนสิงหาคมดาวอังคารจะขึ้นเหนือท้องฟ้าก่อนเวลา 21.00 น. ทางทิศตะวันออกค่อนไปทางทิศใต้เล็กน้อย แล้วเคลื่อนสูงขึ้นจนไปอยู่สูงบนท้องฟ้าทางทิศใต้ในเวลาประมาณ 2.00 น. และเริ่มคล้อยต่ำลงไปทางทิศตะวันตกในเวลาเช้ามืด แต่ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม จะเริ่มเห็นดาวอังคารได้ตั้งแต่เวลาก่อน 19.00 น. เล็กน้อย และอยู่สูงสุดบนท้องฟ้าในเวลาราวเที่ยงคืนครึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น