วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553



ดาวพุธ

ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดของระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ดวงอาทิตย์ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ จึงสังเกตได้ไม่ง่ายนักด้วยกล้องโทรทรรศน์ ขณะทำมุมห่างมากที่สุดจะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 28.3° ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้ คือ ยานมาริเนอร์ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น

ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวใกล้เคียงกับดวงจันทร์มาก มีพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารรวมทั้งไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ข้อแตกต่างประการเดียวระหว่างดวงจันทร์และดาวพุธคือ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ จึงทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้

ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
บรรยากาศ
ดาวพุธมีขนาดเล็กเสียจนแรงดึงดูดของมันไม่เพียงพอที่จะยึดเอาชั้นบรรยากาศ เอาไว้เป็นเวลานานๆได้ ดาวพุธมีชั้นบรรยากาศบางๆ ที่เป็นก๊าซไฮโดรเจน ฮีเลียม ออกซิเจน โซเดียม แคลเซียม และ โพแทสเซียม ชั้นบรรยากาศของมันไม่ค่อยจะเสถียรนัก อะตอมในบรรยากาศเหล่านี้จะมีการ สูญเสียและถูกเติมอยู่ตลอดเวลา โดยมีแหล่งที่มาหลายแหล่ง ไฮโดรเจนและ ฮีเลียมอาจจะมาจากลมสุริยะ พวกมันแพร่เข้ามาผ่านสนามแม่เหล็กของ ดาวพุธก่อนจะหลุดออกจากบรรยากาศในที่สุด การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี จากแกนของดาวก็อาจจะเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ช่วยเติมฮีเลียม โซเดียม และโพแทสเซียมให้กับ บรรยากาศดาวพุธ

อุณหภูมิและแสงอาทิตย์
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของดาวพุธมีค่า 452 เคลวิน แต่แปรผันได้ระหว่าง 90-700 เคลวิน (เนื่องมาจากดาวพุธมีชั้นบรรยากาศที่บางมาก) เทียบกับโลกที่มีค่าแปรผันเพียง 11 เคลวิน (คำนึงเฉพาะการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงจากภูมิอากาศหรือฤดูกาล) แสงอาทิตย์บนพื้นผิวดาวพุธมีความเข้มมากกว่าที่โลกราว 6.5 เท่า ความรับอาบรังสี (irradiance) โดยรวมมีค่า 9.13 kW/m²

ที่น่าประหลาดใจ คือ การสังเกตการณ์ด้วยเรดาร์ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) แสดงว่ามีน้ำแข็งที่ขั้วเหนือของดาวพุธ เชื่อว่าน้ำแข็งอยู่ที่ก้นหลุมอุกกาบาตบางหลุมที่อยู่ในหลืบมืดและไม่เคยถูกแสงอาทิตย์โดยตรงเลย การสำรวจได้เผยให้เห็นถึงแถบสะท้อนเรดาร์ขนาดใหญ่อยู่บริเวณขั้วของดาว ซึ่งน้ำแข็งเป็นหนึ่งในสารไม่กี่ชนิดที่สามารถสะท้อนเรดาร์ได้ดีเช่นนี้
ภูมิประเทศ
ดาวพุธมีหลุมอุกกาบาตจำนวนมากจนดูคล้ายดวงจันทร์ ภูมิลักษณ์ที่เด่นที่สุดบนดาวพุธ (เท่าที่สามารถถ่ายภาพได้) คือ แอ่งแคลอริส หลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,350 กิโลเมตร ผิวดาวพุธมีผาชันอยู่ทั่วไป ซึ่งก่อตัวขึ้นเมื่อหลายพันล้านปีที่แล้ว ขณะที่ใจกลางดาวพุธเย็นลงพร้อมกับหดตัว จนทำให้เปลือกดาวพุธย่นยับ พื้นที่ส่วนใหญ่ของดาวพุธปกคลุมด้วยที่ราบ 2 แบบที่มีอายุต่างกัน ที่ราบที่มีอายุน้อยจะมีหลุมอุกกาบาตหนาแน่นน้อยกว่า เป็นเพราะมีลาวาไหลมากลบหลุมอุกกาบาตที่เกิดก่อนหน้า
องค์ประกอบภายใน
ดาวพุธมีแก่นที่ประกอบด้วยเหล็กในสัดส่วนที่สูง (แม้เมื่อเปรียบเทียบกับโลก) เป็นโลหะประมาณ 70% ที่เหลืออีก 30% เป็นซิลิเกต ความหนาแน่นเฉลี่ยมีค่า 5,430 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของโลกอยู่เล็กน้อย สาเหตุที่ดาวพุธมีเหล็กอยู่มากแต่มีความหนาแน่นต่ำกว่าโลก เป็นเพราะในโลกมีการอัดตัวแน่นกว่าดาวพุธ ดาวพุธมีมวลเพียง 5.5% ของมวลโลก แก่นที่เป็นเหล็กมีปริมาตรราว 42% ของดวง (แก่นโลกมีสัดส่วนเพียง 17%) ล้อมรอบด้วยเนื้อดาวหรือแมนเทิลหนา 600 กิโลเมตร

ดาวพุธ (Mercury)

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดดังนั้นดาวพุธจึงร้อนจัดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลวกลางคืนดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กโตกว่าดวงจันทร์ของเราเพียงเล็กน้อย ภาพถ่ายทั้งหลายที่เกี่ยวกับดาวพุธได้จากยานอวกาศที่ส่งขึ้นไปขณะเข้าไปใหล้ดาวพุธที่สุดก็จะถ่ายภาพส่งมายังโลก ทำให้รู้ว่าพื้นผิวดาวพุธคล้ายกับผิวดวงจันทร์ ผิวดาวพุธส่วนใหญ่เป็นฝุ่นและหิน มีหลุมลึกมากมาย ไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ ดาวพุธจึงเป็นดาวแห้งแล้ง ดาวแห่งความตายเป็นโลกแห่งทะเลทราย

ดาวพุธเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ

พื้นผิวของดาวพุธมีลักษณะคล้ายดวงจันทร์ โดยเฉพาะด้านไกลโลก เพราะต่างไม่มีบรรยากาศ แต่ดาวพุธมีขนาดใหญ่กว่า มีแรงโน้มถ่วงสูงกว่า ขอบหลุมบนดาวพุธจึงเตี้ยกว่าบนดวงจันทร์ ยานอวกาศที่เข้าไปเฉียดใกล้ๆ ดาวพุธและนำภาพมาต่อกันจนได้ภาพพื้นผิวดาวพุธดังกล่าวคือ ยานอวกาศมารีเนอร์ 10 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2517 นับว่าเป็นยานลำแรกและลำเดียวที่ส่งไปสำรวจดาวพุธ ยานมารีเนอร์ 10 เข้าใกล้ดาวพุธ 3 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อเดือนมีนาคม และ กันยายน พ.ศ. 2517 และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ยานเข้าใกล้ดาวพุธที่สุดครั้ง แรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 และได้ส่งภาพกลับมา 647 ภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2517 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2518 ขณะนั้นเครื่องมือภายในยานได้เสื่อมสภาพลง ในที่สุดก็ติดต่อกับโลกไม่ได้ตั้งแต่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2518 ยานมารีเนอร์ 10 จึงกลายเป็นขยะอวกาศที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ โดยเข้ามาใกล้ดาวพุธครั้งคราวตามจังหวะเดิมต่อไป

นอกจากดาวพุธจะมีช่วงกลางวันถึงกลางคืนยาวที่สุดแล้ว ยังมีทางโคจรที่รีมากด้วย เป็นรองเฉพาะดาวพลูโตเท่านั้น ดาวพุธมีระยะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 0.31 หน่วยดาราศาสตร์ และไกลที่สุด 0.47 หน่วยดาราศาสตร์ ทำให้ 2 ระยะนี้ แตกต่างกันถึง 0.16 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 24 ล้านกิโลเมตร นั่นหมายความว่า ถ้าไปอยู่บนดาวพุธจะเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก โดยเมื่ออยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดจะเห็นดวงอาทิตย์ใหญ่เป็น 2 เท่าครึ่งของเมื่ออยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ซึ่งโตประมาณ 4 เท่าของที่เห็นจากโลก ในระหว่างเวลากลางวัน อุณหภูมิที่ผิวของดาวพุธช่วงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ที่สูงสุดถึง 700 เคลวิน (ประมาณ 427 องศาเซลเซียส) สูงพอที่จะละลายสังกะสีได้ แต่ในเวลากลางคืนอุณหภูมิลดต่ำลงเป็น 50 เคลวิน (-183 องศาเซลเซียส) ต่ำพอที่จะทำให้ก๊าซคริปตอนแข็งตัว การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบนพื้นผิวดาวพุธจึงรุนแรง คือร้อนจัดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลากลางคืน ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดบนดวงจันทร์ของโลกเราด้วย ทั้งนี้เพราะไม่มีบรรยากาศที่จะดูดกลืนความร้อนอย่างเช่นโลก

ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบร่องรอยของบรรยากาศ และพบน้ำแข็งบริเวณขั้ว ซึ่งอาจเกิดจากการชนของดาวหางบนดาวพุธ และอาจเป็นผู้ก่อกำเนิด ออกซิเจน และไฮโดรเจนบนดาวพุธ ปรากฎการณ์บนฟ้าเกี่ยวกับดาวพุธ เห็นอยู่ใกล้ขอบฟ้าเสมอ สาเหตุเป็นเพราะวงโคจรของดาวพุธเล็กกว่า วงโคจรของโลก ดาวพุธจึงปรากฏห่างจากดวงอาทิตย์ได้อย่างมากไม่เกิน 28 องศา นั่นหมายความว่า ถ้าอยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จะเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ แต่ถ้าอยู่ทางตะวันตกของดวงอาทิตย์ จะขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ จึงเห็นทางทิศตะวันออกในเวลารุ่งอรุณ และเห็นเป็นเสี้ยวในกล้องโทรทรรศน์ เนื่องจากดาวพุธไม่หันด้านสว่างทั้งหมดมาทางโลก แต่จะหันด้านสว่างเพียงบางส่วนคล้ายดวงจันทร์ข้างขึ้นหรือข้างแรม หันด้านสว่างมาทางโลก ถ้าดาวพุธหันด้านสว่างทั้งหมดมาทางโลก เราจะมองไม่เห็น เพราะดาวพุธอยู่ไปทางเดียวกันกับดวงอาทิตย์ เห็นเป็นจุดดำเล็กๆ บนพื้นผิวดวงอาทิตย์
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ชื่อของดาวเคราะห์ คือ Mercury เป็นชื่อในภาษาโรมัน โดยเป็นชื่อของผู้ส่งสารของพระเจ้า ซึ่งมีความรวดเร็ว เนื่องจากดาวพุธ ปรากฏและหายไปอย่างรวดเร็ว ในช่วงเช้า หรือช่วงค่ำนั่นเอง

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ

ดาวพุธ ดาวเคราะห์ชั้นในสุด มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เกือบจะกลม (ค่า Ecc) และมีคาบการโคจร รอบดวงอาทิตย์ ที่สั้นที่สุด จึงทำให้ดาวพุธเคลื่อนที่บนท้องฟ้าเร็วมาก คนกรีกโบราณจึงยกให้ดาวพุธเป็น ดาวตัวแทนของ เทพเมอร์คิวรี่ (Mercury) เทพแห่งการสื่อสาร เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็น ลักษณะของดาวพุธ เว้าแว่งเป็นเสี้ยวคล้ายกับดวงจันทร์

การสังเกตดาวพุธ เราสามารถเห็นดาวพุธได้เป็นบางช่วง หากดาวพุธไม่โคจรมาอยู่หน้าดวงอาทิตย์หรือหลัง ดวงอาทิตย์ เราจะเห็นดาวพุธอยู่ทางซีกตะวันตกหลังดวงอาทิตย์ตกไปเล็กน้อย และทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เล็กน้อย อยู่สูงจากขอบฟ้าไม่เกิน 25 องศา และเห็นได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 20 นาที ก็จะลับขอบฟ้าไปหรือ แสงอาทิตย์ขึ้นมาบัง (ดูข้อมูลได้จาก: ตำแหน่งของดาวเคราะห์)

ดาวพุธจึงโคจรอยู่ท่ามกลาง ความร้อนจัด ของดวงอาทิตย์ในระยะห่าง เฉลี่ย ประมาณ 58,000,000 กิโลเมตร ในขณะที่อยู่ห่างจากโลกของเราประมาณ 15,000,000 กิโลเมตร ด้วยเหตุนี้เมื่อเรามองดาวพุธจากโลก จึงเห็นดาวพุธอยู่ใกล้ ดวงอาทิตย์ ตลอดเวลา แต่เนื่องจากความสว่างของเวลากลางวัน ทำให้เราไม่สามารถเห็น ดาวพุธด้วย ตาเปล่า จนกว่าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า หรือก่อนดวงอาทิตย์จะปรากฎในวันใหม่ กล่าวคือ ถ้าอยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จะลับขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ จึงมีโอกาส เห็นอยู่ทางทิศตะวันตก ในเวลาหัวค่ำ แต่ถ้าอยู่ทางทิศตะวันตก ของดวงอาทิตย์ จะลับ ขอบฟ้า ก่อนดวงอาทิตย์ และจะขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ ในเวลารุ่งเช้า จึงมีโอกาสเห็นอยู่ทาง ทิศตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,878 กิโลเมตร มีมวลประมาณ 0.054 เท่าของโลก ใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่งเป็นเวลาประมาณ 87.97 วัน หรือ 88 วัน ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1965 นักดาราศาสตร์มีความเชื่อว่าดาวพุธใช้เวลาโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ เท่ากับเวลาที่ใช้ใน การหมุน รอบตัวเอง นั่นหมายถึงว่า ดาวพุธจะหันด้านเดียวในการรับแสง จากดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แต่เมื่อ Roef Dyee และ Gordon Effect นักวิทยาศาสตร์คอร์เนล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา นำเทคนิคของเรดาร์มาวัดการหมุนรอบตัวเอง ของดาวพุธ พบว่าใช้เวลาเพียง 58.65 วัน หรือประมาณ 59 วันเท่านั้น แต่ 1 วันบนดาวพุธจะยาวถึง 176 วันของโลก
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์บริวารดวงหนึ่ง ของดวงอาทิตย์ที่โคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ด้วยความเร็วมากที่สุด คือจะอยู่ห่างโดยเฉลี่ย 57,909,200 กิโลเมตร มีความเร็วประมาณ 172,248 กิโลเมตร/ชั่วโมง ดาวพุธหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้เวลานาน 59 วัน (โลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบในเวลา 1 วัน) และโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบในเวลา 88 วัน การอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากทำให้อุณหภูมิที่ผิวของดาวพุธในเวลากลางวันสูงถึง 430 องศาเซลเซียส ซึ่งนับว่าสูงพอที่จะทำให้ตะกั่วหลอมเหลว แต่ในยามค่ำคืนอุณหภูมิจะบนดาวลดต่ำถึง -180 องศาเซลเซียส ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้ก๊าซ krypton กลายสภาพเป็นของเหลวได้สบายๆ

ตามปกติเราจะเห็นดาวพุธ หลังจากที่ดวงอาทิตย์ตกลงไปแล้วหรือก่อนที่ดวงอาทิตย์ขึ้นประมาณ 1 ชั่วโมง และจากการที่แสงจากดาวพุธต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศที่มีความหนามากมาสู่ตา ดังนั้นเวลาอากาศแปรปรวน นักดาราศาสตร์จะเห็นดาวพุธไม่ชัด และถึงแม้เราจะมีกล้องโทรทรรศน์ Hubble โคจรอยู่สูงเหนือพื้นดินก็เถอะ เราก็ต้องระมัดระวังเวลาการถ่ายภาพดาวพุธ เพราะการที่มันอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากนี้เอง ที่ทำให้กล้องอาจจะประสบอุบัติเหตุเวลา เล็งตรงไปที่ดวงอาทิตย์ ทำให้แสงอาทิตย์ที่มีความเข้มสูง พุ่งเข้าทำลายฟิล์ม และชิ้นส่วนต่างๆ ที่ขอบยางของกล้องได้

ดังนั้นหนทางเดียวที่ จะต้องทำในการศึกษาดาวพุธ คือ ส่งยานอวกาศไปโคจรรอบ หรือผ่านดาวพุธที่ระยะใกล้ ดังที่สหรัฐฯ ได้เคยส่งยาน Mariner 10 ไปสังเกตดาวพุธประมาณ 25 ปีมาแล้ว ยาน Mariner ได้ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวศุกร์เหวี่ยง ให้พุ่งผ่านดาวพุธเพื่อถ่ายภาพระยะใกล้ ภาพถ่ายที่ได้แสดงให้เห็นชัดว่า ผิวของดาวดวงนี้มีลักษณะ คล้ายกับผิวของดวงจันทร์มาก ความคล้ายคลึงนี้ได้มีส่วน ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคน ลดความสนใจในดาวพุธมาก เพราะคิดว่า ดาวพุธก็คือดวงจันทร์ของโลกดีๆ นี่เอง เพียงแต่แทนที่จะโคจรรอบโลก กลับไปโคจรรอบดวงอาทิตย์

ความนึกคิดนี้ได้ ทำให้ดาวพุธเป็นดาวที่โลกลืม ดังจะเห็นได้จากสถิติการสำรวจดวงดาวต่างๆ ของ NASA ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมานี้ว่า สหรัฐฯ ได้ส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ 40 ครั้ง ไปดาวศุกร์ 20 ครั้ง และดาวอังคาร 15 ครั้ง แต่ได้ส่งยานไปสำรวจดาวพุธเพียงครั้งเดียว

ข้อมูลที่ยาน Mariner ส่งกลับมายังโลก แสดงให้เห็นว่าดาวพุธมีคุณสมบัตินานๆ ประการที่แตกต่างจากดาวเคราะห์ทั่วไป

ประการแรกคือการที่ดาวเล็กๆ ดวงนี้มีความหนาแน่นมากผิดปกติ นักดาราศาสตร์ได้ มีข้อสังเกตว่าดาวเคราะห์ ที่มีขนาดปานกลางเช่นโลกและดาวศุกร์นั้น จะมีหนาแน่นมาก แต่ดาวเคราะห์ขนาดเล็ก เช่นดวงจันทร์และดาวอังคาร จะมีความหนาแน่นน้อย ดาวพุธนั้นมีขนาดใหญ่พอๆ กับดวงจันทร์ แต่กลับมีความหนาแน่นพอๆ กับโลก ข้อมูลเช่นนี้ทำให้เรารู้ว่าดาวพุธ จะต้องมีแกนที่ประกอบด้วยเหล็ก และเป็นไปได้ว่าแกนเหล็กที่ว่านี้ จะมีขนาดใหญ่กว่าแกนเหล็กของโลก หรือดาวศุกร์เสียอีก นอกจากนี้ ยาน Mariner ยังรายงานว่า ดาวพุธนั้นมีสนามแม่เหล็กความเข้มสูงอีกด้วย ก็ในเมื่อสนามแม่เหล็กโลกเกิดจากการไหลวนของเหล็กเหลวภายในแกน นักวิทยาศาสตร์จึงคิดว่าสนามแม่เหล็กของดาวพุธคงเกิดจากไหลวนของเหล็กเหลวภายในแกนเช่นกัน แต่ถ้าแกนของดาวพุธเป็นเหล็กเหลวจริงๆ เราก็ต้องทำความเข้าใจเรื่องการนำ การพาความร้อนและการเย็นตัวของดาวใหม่หมดทั้งดาวแล้วตลอดเวลา 4,500 ล้านปีที่ผ่านมานี้ แต่ถ้าแกนมันเป็นเหล็กแข็ง สนามแม่เหล็กความเข้มสูงในตัวมันก็ไม่น่าจะมี ซึ่งก็ขัดแย้งกับข้อมูลที่ Mariner รายงานว่า สนามแม่เหล็กของดาวพุธนั้นมีความเข้มสูงเป็นอันดับสองรองจากสนามแม่เหล็กโลกเลยทีเดียว ดังนั้นสมุฏฐานของสนามแม่เหล็กบนดาวพุธจึงยังไม่มีสรุป

และเมื่อประมาณ 3 ปีมานี้ คณะนักดาราศาสตร์จากสถาบัน California Institute of Technology ได้ส่งคลื่นเรดาร์ไปกระทบผิวดาวพุธ ในการศึกษาคลื่นที่สะท้อนกลับมายังโลก เขาได้ข้อมูลที่ส่อแสดงให้เห็นว่าที่ขั้วของดาวพุธนั้นมีน้ำแข็ง

แกนของดาวพุธนั้น ตามธรรมดาเวลาโคจร จะตั้งดิ่งกับระนาบการโคจรของมัน แกนมิได้เอียงทำมุม 23 องศากับแนวดิ่ง ดังเช่นแกนของโลก การหมุนรอบตัวเองในลักษณะนี้จะทำให้บริเวณขั้วของมันไม่ได้รับแสงอาทิตย์เลยตั้งแต่มันถือกำเนิด จึงเป็นไปได้ว่า หากมีดาวหางพุ่งชนดาวพุธที่บริเวณขั้วของดาว ก้อนน้ำแข็งของดาวหางก็จะปรากฏแนบแน่นที่ขั้วอย่างไม่มีวันระเหยหายไปได้เลย แต่นักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนกลับมีความคิดว่า หากตรงบริเวณขั้วของดาวพุธมีกำมะถันแทนที่จะมีน้ำแข็ง คลื่นเรดาร์ที่ส่งไปสำรวจจากโลกก็มิสามารถจะบอกความแตกต่างระหว่างกำมะถันกับน้ำแข็งได้ จึงเป็นว่าขณะนี้เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าฝ้าบางๆ ที่ปรากฏอยู่ที่ขั้วของดาวพุธเป็นกำมะถันหรือน้ำแข็งกันแน่

เมื่อเรารู้จักดาวพุธยังไม่ดีพอ เช่นนี้ NASA จึงมีโครงการจะส่งยานอวกาศ Deep Space One ไปสำรวจดาวเคราะห์วงใน เช่น ดาวศุกร์ ดาวหาง West - Kohoutek - Ikamura และดาวพุธในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 25... เพื่อแสวงหาคำตอบและรู้จักดาวปริศนาดวงนี้ให้ดีขึ้นครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. Gold Tiger Gold-Tin-Norton® Aluminum-Batteries - TITanium
    Titanium titanium nail Tiger titanium belt buckle Gold-Tin-Norton® grade 23 titanium Aluminum-Batteries. Description, properties of titanium Tinted 2018 ford ecosport titanium zinc-plated aluminum-batteries are designed to provide the ideal performance for the industry.

    ตอบลบ