วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553


ดาวพลูโต
เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดวงจันทร์ 7 ดวงในระบบสุริยะ (ดวงจันทร์ของโลก ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต ไททัน และไทรตัน) ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 3 ดวง ชื่อ คารอน (มีขนาดประมาณ 1/5 ของพลูโต) นิกซ์ และไฮดรา (2 ดวงหลัง ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2548)

พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาลในเทพนิยายโรมัน หรือ เรียกว่า ฮาเดส ในเทพนิยายกรีก สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งที่ตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า พลูโต ก็เพื่อให้มีตัวอักษร "P-L" ในชื่อ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ ในภาษาไทยอาจเรียกพลูโต ว่า ดาวยม หมายถึง ยมโลก หรือ นรก ซึ่งก็มีความหมายพ้องกับชื่อ พลูโต หรือ ฮาเดส ในตำนานกรีก

การค้นพบพลูโต
ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2473 โดยบังเอิญ มีการคำนวณหาตำแหน่งดาวเคราะห์ดวงใหม่ถัดจาก ดาวเนปจูนโดยใช้ฐานข้อมูลการเคลื่อนที่ของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งไคลด์ ทอมบอก์แห่งหอดูดาว โลเวลล์ ในรัฐแอริโซนา ได้ทำการสำรวจท้องฟ้า และพบดาวพลูโตในที่สุด

ขณะนั้นถือว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่อยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กที่สุด เป็นเวลา 76 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2473-2549

หลังจากที่ได้ค้นพบดาวพลูโตแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า ขนาดของดาวพลูโต เล็กเกินกว่าที่จะรบกวน วงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่นได้ จะต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า จึงจะรบกวนดาวเนปจูนได้ ดังนั้นการค้นหาดาวเคราะห์ X จึงมีขึ้นต่อไป แต่ก็ไม่มีสิ่งใดถูกค้นพบเพิ่มเติม จนกระทั่ง ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้ข้อมูลด้านมวลสารของดาวเนปจูนเพิ่มเติม ข้อถกเถียงดังกล่าวจึงหมดไป โดยไม่จำเป็นต้องมีดาวเคราะห์ดวงที่ 10

อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษล่าสุดมีการค้นพบ วัตถุที่คล้ายดาวพลูโตมากมาย ในบริเวณเดียวกับดาวพลูโตที่เรียกว่า แถบไคเปอร์ และดาวพลูโตก็มีลักษณะไม่สอดคล้องกับกำเนิดของดาวเคราะห์อย่าง ดาวเคราะห์ก๊าซ หรือ ดาวเคราะห์หิน นำมาสู่หัวข้อในที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก

เปลี่ยนสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระ
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์

ส่งผลให้ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ (และวัตถุในระบบสุริยะ (นอกจากดวงอาทิตย์) ได้ถูกจัดใหม่เป็น 3 ประเภท คือ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ และวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ)

การประชุมเพื่อถกเถียงเรื่องสถานภาพของดาวพลูโต ใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์

ดาวพลูโตอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย จึงมีอุณหภูมิต่ำมาก นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาดาวพลูโต และวัตถุในแถบไคเปอร์อย่างละเอียดในปี พ.ศ. 2558 เมื่อยานนิวฮอไรซันส์ของนาซา ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 เดินทางไปถึงวงโคจรของดาวพลูโต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558

ดาวพลูโต (Pluto)

เมื่อมีการค้นพบดาวเนปจูน ได้ประมาณขนาดและการหมุนรอบของมัน แต่ผลที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่คาดคิด ผลที่ได้ไม่สามารถอธิบายการหมุนที่ผิดปกติของดาวยูเรนัส บางทีอาจมีดาวเคราะห์อีกดวงที่อยู่ถัดจากดาวเนปจูน บางทีอาจเป็นแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ดวงนี้ดึงดูดดาวยูเรนัส ได้มีการเริ่มค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่เก้าในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ถูกค้นพบในปี 1930 ชาวอเมริกันชื่อ Clyde Tombaugh ได้ถ่ายภาพของมันบนท้องฟ้า ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่าดาวพูลโต สามารถมองเห็นได้โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น

เวลาส่วนใหญ่แล้วดาวพูลโตจะเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด ในระหว่างการหมุนบางช่วงจะใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน และอยู่ห่างไกลที่สุดในปี 1999 ดาวพูลโตเป็นดาวขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และยังเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลก บนดาวมีความหนาวเย็นมากและอาจไม่มีชั้นบรรยากาศ พื้นผิวของมันอาจปกคลุมด้วยน้ำแข็งหรือก๊าซของแข็ง เราคิดว่าดาวพูลโตประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็งโดยมีแกนเป็นหิน ลักษณะอาจจะเหมือนดาวบริวารของดาวยูเรนัส บางทีครั้งหนึ่ง ดาวพูลโตอาจเคยเป็นดาวบริวารของดาวเนปจูนซึ่งหนีการหมุนรอบดาวเนปจูน
ดาวพูลโตมีดาวบริวาร 1 ดวงชื่อดาว Charon ซึ่งพบโดยการดูด้วยกล้องโทรทัศน์ในปี 1978 ดาว Charon มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 725 ไมล์ ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวพูลโต ดาว Charon หมุนรอบดาวพูลโต โดยมีระยะทางห่างจากดางพูลโต 12,125 ไมล์ มันใช้เวลาหมุนรอบดาวพูลโต เท่ากับการหมุนรอบตัวเองของดาวพูลโต ดังนั้นถ้าหากเราอยู่บนดาวพูลโตเราจะมองไม่เห็นดาว Charon ปรากฏบนท้องฟ้า
ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลจาก ดวงอาทิตย์ มากที่สุด และมีขนาด เล็กกว่า ดวงจันทร์ 7 ดวงในระบบสุริยะ ( ดวงจันทร์ของโลก, ไอโอ, ยูโรปา, กันนึมมีด, คัลลิสโต, ไททันและ ทายตัน) วงโคจร: 5,913,520,000 ก.ม. (39.5 หน่วยดาราศาสตร์) จากดวงอาทิตย์ (โดยเฉลี่ย) เส้นผ่านศูนย์กลาง: 2274 ก.ม. มวล: 1.27 คูณด้วย x 1022 ก. ก. ในเทพนิยายโรมาน พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาล (กรีก: ฮาเดส ) ดาวพลูโตได้ชื่อนี้ คงเป็นเพราะมันอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย หรือบางทีอาจเป็นเพราะตัวอักษร "PL" ย่อมากจาก Percival Lowell (ก่อนหน้านี้มีการตั้ง ชื่อดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ต่าง ๆ นานา)

ลักษณะ

นักดาราศาสตร์ผู้ที่ค้นพบดาวพลูโตเป็นชาวอเมริกัน ชื่อ Percival Lowell ได้คำนวณและคาดหมายว่า น่าจะมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่อยู่ดาวยูเรนัส ออกไปอีก แต่ก็ยังค้นไม่พบต่อมาในปีพ.ศ.2473 Clyde Tombaugh ก็ได้พบดาวดวงนั้นที่ชื่อว่า ดาวพลูโต ดาวพลูโต มีขนาดใหญ่พอๆ ดาวพุธทำให้ไม่ มีอิทธิ พลต่อการโครจรของดาวยูเรนัสมาก นักดาราศาสตร์เชื่อว่าน่าจะมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่อยู่ถัดจากดาว พลูโลออกไปอีกเพียงแต่เรายังค้นไม่พบเท่านั้นเอง ดาวพลูโตประกอบด้วยหินเหมือนดาวพุธซึ่งแตก ต่างจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ซึ่งประกอบด้วยก๊าซดาวพลูโตอยู่ไกลจากดวง อาทิตย์มากถึง 5,900 ล้านกิโลเมตร หมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบจะใช้เวลา 248 ปี และใช้เวลาหมุนรอบ ตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 6 วัน 9 ชั่วโมง แม้ดาวพลูโต จะเป็นดาวที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ (ในขณะนี้) แต่บางครั้งอาจโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูนเมื่อเรามองจากดาวพลูโต จะเห็นดวงอาทิตย์



ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่ไม่เคยมีการส่งยานอวกาศไปสำรวจ แม้แต่ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ยังทำการสำรวจรายละเอียดได้เพียง รูปซ้ายมือ โชคดีที่ดาวพลูโตมีบริวารชื่อ แครอน ซึ่งค้นพบในปี พ.ศ.2521 ก่อนที่ระนาบวงโคจรของมันจะหันเข้ามาในระบบสุริยะ เราได้ข้อมูลต่าง ๆ จากการสังเกต การณ์และการคำนวณ การเคลื่อนที่บังกัน (transit) คาบความสว่าง และสังเกตความสว่างและความมืดคล้ำของพื้นผิวทั้งสองดวง เรายังไม่ทราบขนาดรัศมีของที่แท้จริงดาวพลูโต NASA ประมาณว่าเท่ากับ 1,127 ก.ม. บวก/ลบ หนึ่งเปอร์เซนต์ เหมือนดาวดวงหนึ่งในท้องฟ้าเท่านั้นเอง

ดาวเคราะห์น้ำแข็ง

ดาวพลูโตเป็นโลกขนาดเล็ก มันเล็กกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และยังเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลก มีความหนาวเย็นมาก และอาจไม่มีบรรยากาศพื้นผิวของมัน อาจปกคลุมด้วยน้ำแข็งหรือแก๊ซน้ำแข็ง เราคิดว่าดาวพลูโตประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็งโดยมีแกนเป็นหิน มันอาจเหมือนกับดาวบริวารของดาว ยูเรนัส บางทีครั้งหนึ่ง พลูโตอาจเคยเป็นดาวบริวารมันอาจเป็นดาวบริวารของดาวเนปจูนซึ่งหนีการ หมุนรอบดาวเนปจูน

ดาวบริวาร

ดาวพลูโตมีดาวบริวารชื่อ ดาว Charon ซึ่งพบโดยการดูด้วยกล้องโทรทัศน์ในปี 1978 ดาว Charon มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 725 ไมล์ ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่ง ของเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวพลูโต ดาว Charon หมุนรอบดาวพลูโตโดยมีระยะทางห่างจากดาวพลูโต 12,125 ไมล์ มันใช้เวลาในการหมุน รอบดาวพลูโต เท่ากับการหมุนของดาวพลูโต ถ้าหากเราอยู่บนดาวพลูโต เราจะมองไม่เห็นว่า ดาว Charon ปรากฎบนท้องฟ้า
ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ที่ไกลที่สุด ในระบบสุริยะจักรวาล มีขนาดเล็กมาก และวงโคจร ก็ต่างไปจาก ดาวดวงอื่นๆ จนเมื่อปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่ม เสนอให้ดาวพลูโต เป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) เท่านั้น

ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ทีอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไกลที่สุดเป็นลำดับที่ 9 ส่องกล้องค้นพบดาวพลูโตโดย ไคลด์ ทอมบอห์ (Clyde Tombaugh) เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2473 (ค.ศ.1930) เป็นดาวเคราะห์ที่มี ขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ความรู้เรื่องต่างๆ ของดวงดาวนี้ยังมีความชัดเจนไม่มากนัก เพราะเป็นดาวที่อยู่ห่างจากโลกถึง 38.46 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 7,400,000,000 กิโลเมตร ซึ่งหากจะส่งยานอวกาศขึ้นไปสำรวจดาวพลูโต จะต้องใช้เวลาเดินทางอย่างน้อย 10-15 ปีทีเดียว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น