วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553


ดาวยูเรนัส (Uranus)

ดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงต่อไปถัดจากดาวเสาร์ได้แก่ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มันมีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น เราเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ ในปี 1781 William Herschel ได้ใช้กล้องโทรทัศน์ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ เขาเห็นแผ่นกลมสีเขียวที่ไม่มีรอย ต่อมา นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารห้าดวง ในปี 1977 ได้มีการพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่านักดาราศาสตร์จะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด แต่เขาก็ยังไม่สามารถค้นหาอะไรได้มากมายนักเกี่ยวกับดาวยูเรนัสเอง ในปี 1986 ยานอวกาศวอยาเจอร์2 ได้บินผ่านดาวยูเรนัสและได้ส่งภาพที่ชัดเจนของดาวยูเรนัส และวงแหวนตลอดจนดาวบริวารของมันกลับมายังพื้นโลก ในที่สุดเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับดาวยูเรนัส

โลกของน้ำ
ภาพของดาวยูเรนัสจากยานอวกาศได้อธิบายว่า ทำไมนักดาราศาสตร์จึงไม่สามารถมองเห็นดาวยูเรนัสได้มากนัก ดาวยูเรนัสทั้งดวงปกคลุมด้วยหมอกสีเขียวแก่ ยานวอยาเจอร์ได้พบกลุ่มควันสองสามกลุ่มใต้หมอก แสดงให้เห็นว่าลมกำลังพัดรอบๆดาวยูเรนัสในอัตราความเร็วถึง 440 ไมล์ต่อชั่วโมง บรรยากาศประกอบด้วยแก๊ซไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเธน นักดาราศาสตร์บางคนคิดว่าพื้นผิวของดาวยูเรนัสปกคลุมด้วยมหาสมุทรที่ร้อน เหมือนกับดาวจูปิเตอร์และดาวเสาร์ แต่ประกอบด้วยน้ำร้อนแทนที่จะเป็นแก๊ซ ที่ใจกลางของดาวยูเรนัสจะมีแกนก้อนหินเล็กๆ
ด้านในของดาวยูเรนัส
ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นได้มากนักบนดาวยูเรนัส แต่นักดาราศาสตร์ได้พบสิ่งประหลาดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับดาวยูเรนัส คือดาวยูเรนัสจะเอียงข้าง แกนของมันจะเอียงเพื่อว่าขั้วของมันจะตั้งเกือบอยู่ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหวของดาวยูเรนัส ไม่มีดาวเคราะห์ดวงใดที่มีลักษณะดังกล่าว เหตุผลที่ดาวยูเรนัสมีการเอียงมากอาจเห็นเพราะว่าครั้งหนึ่งเคยถูกกระแทกโดยดาวเคราะห์น้อย ในขณะที่ดาวยูเรนัสหมุนรอบดวงอาทิตย์ ขั่งข้างหนึ่งจะชี้ไปทางดวงอาทิตย์ ขั้วที่ชี้ไปทางดวงอาทิตย์จะเห็นแสงสว่างของเวลากลางวันเป็นเวลา 22 ปี แล้วด้านนี้จะหมุนไปด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์อยู่ในความมืดอีก 22 ปี ยานวอยาเจอร์พบว่าขั้วมืดจะอบอุ่นกว่าขั้วที่มีแสงสว่างเล็กน้อยไม่มีใครรู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด

วงแหวนและดาวบริวารของดาวยูเรนัส
วงแหวนของดาวยูเรนัสมีความมืดมาก ผิดกับวงแหวนที่สว่างของดาวเสาร์ ถ้าไม่มองด้วยกล้องโทรทัศน์ก็จะมองไม่เห็น วงแหวนของดาวยูเรนัสถูกพบโดยหอดูดาวแอร์บอร์นในปี 1977 ซึ่งเป็นยานชนิดพิเศษที่นำกล้องโทรทัศน์ไปด้วย นักดาราศาสตร์บนเครื่องบินเฝ้ามองดูดาวยูเรนัสเมื่อมีดาวฤกษ์เคลื่อนไหวมาตรงข้ามหน้าของมัน ยานวอยาเจอร์ 2 มองดูที่วงแหวนเมื่อมันบินผ่านดาวยูเรนัส วงแหวนของดาวยูเรนัสจะแคบ วงแหวนที่กว้างที่สุดคือช่องว่างที่ใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วยก้อนฝุ่น ยานวอเยเจอร์พบส่วนโค้งบางอย่าง ซึ่งเป็นส่วนของวงแหวนที่ไม่สมบูรณ์ วงแหวนของดาวยูเรนัสประกอบด้วยชิ้นน้ำแข็งมืดที่เคลื่อนไหว น้ำแข็งประกอบด้วยมีเทนแข็ง ชิ้นส่วนของมันอาจจะชนกันและทำให้เกิดฝุ่นที่อยู่ในช่องว่างระหว่างวงแหวน

ดาวบริวารที่ประหลาด
ยานวอยาเจอร์ยังพบดาวบริวารขนาดเล็กสิบดวงที่อยู่รอบดาวยูเรนัสซึ่งไม่เคยพบมาก่อน ทั้งหมดหมุนรอบๆระหว่างวงแหวนและดาวมิแรนดา มิแรนดาเป็นดาวที่อยู่ใกล้ที่สุดของบรรดาดาวทั้งห้าดวงซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาก่อนแล้ว ดาวบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำแข็งและหิน เป็นดาวบริวารที่แปลกประหลาดที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารของดาวยูเรนัสมีหย่อมขนาดใหญ่สีขาวและสีดำ ซึ่งอาจเกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำแข็งและแก๊ซแข็ง มีหุบเขาลึกและภูเขาสูงด้วยเช่นเดียวกัน บนดาวมิแรนดาจะมีหน้าผาสูงสิบสองไมล์ นักดาราศาสตร์คิดว่าครั้งหนึ่งมิแรนดาอาจแตกเป็นส่วนๆต่อมา ชิ้นส่วนเหล่านี้กลับเข้ามาประกบอีกเหมือนก่อน
ดาวยูเรนัส

ใช้เวลา 84 ปีในการหมุนรอบดวงอาทิตย์
วิลเลี่ยม เฮอรส์เชลเป็นผู้ค้นพบ

ดาวยูเรนัสมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์มีทั้งหมด11วงเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดเท่าก้อนหิน ยานอวกาศ
ที่เคยบินผ่านดาวดวงนี้เป็นลำแรกคือ
ยานวอยาเจอร์ 2 มีดวงจันทร์ทั้งหมด15 ดวง

บรรยากาศประกอบด้วยไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ
่ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าลึกลงไปในกลุ่มควัน
มีมหาสมุทรของน้ำและแอมโมเนีย
ด้วยระยะทางห่างจากโลก ประมาณ 19 AU.เป็นดาวเคราะห์มีเรื่องราวน้อย และไม่
ค่อยจะมีข้อมูลให้ทราบมากนักในอดีต ด้วยความห่างไกลมาก

ด้านกายภาพ ดาวยูเรนัส มีขนาดใหญ่กว่าโลก เล็กกว่าดาวเสาร์และดาวพฤหัสแต่
สภาพดาวยูเรนัส มีบรรยากาศเต็มไปด้วย Hydrogen – Helium และ Hydrogen
compounds ที่มีส่วนประกอบของน้ำ แอมโมเนีย ก๊าซมีเทน โดยเฉพาะก๊าซมีเทน
มีมากกว่าดาวเสาร์และดาวพฤหัส ถึง 20 %

การที่ก๊าซมีเทนลอยตัวสู่ ด้านบนของชั้นบรรยากาศ จึงดูดกลืนแสงสีแดงไว้ปลด
ปล่อยเฉพาะแสงสีน้ำเงินออกมาในชั้นกลุ่มเมฆก๊าซมีเท็น ทำให้เห็นสีสันภายนอก
ดาวยูเรนัสเป็นเฉดสีน้ำเงิน และสีฟ้าอมเขียว
ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มันมีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น ต่อมา นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารห้าดวง ในปี 1977 ได้มีการพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่านักดาราศาสตร์จะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด แต่เขาก็ยังไม่สามารถค้นหาอะไรได้มากมายนักเกี่ยวกับดาวยูเรนัสเอง ในปี 1986 ยานอวกาศวอยาเจอร์2 ได้บินผ่านดาวยูเรนัสและได้ส่งภาพที่ชัดเจนของดาวยูเรนัส และวงแหวนตลอดจนดาวบริวารของมันกลับมายังพื้นโลก ในที่สุดเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับดาวยูเรนัส
ดาวยูเรนัสทั้งดวงปกคลุมด้วยหมอกสีเขียวแก่ ยานวอยเอเจอร์ได้พบกลุ่มควันสองสามกลุ่มใต้หมอก แสดงให้เห็นว่าลมกำลังพัดรอบๆดาวยูเรนัสในอัตราความเร็วถึง 440 ไมล์ต่อชั่วโมง บรรยากาศประกอบด้วยแก๊ซไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเธน นักดาราศาสตร์บางคนคิดว่าพื้นผิวของดาวยูเรนัสปกคลุมด้วยมหาสมุทรที่ร้อน เหมือนกับดาวจูปิเตอร์และดาวเสาร์ แต่ประกอบด้วยน้ำร้อนแทนที่จะเป็นแก๊ซ ที่ใจกลางของดาวยูเรนัสจะมีแกนก้อนหินเล็กๆ

ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์ใหญ่เป็นที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ โคจรอยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ มีลักษณะแปลกกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ คือ ขณะที่ ดาวเคราะห์อื่นมีแกนเอียงออกจากแนวตั้งฉากกับระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์แต่เพียงเล็กน้อย เช่น โลกเอียงขั้วเหนือเฉออกจากแนวดิ่ง 23.5 องศา แต่ดาวยูเรนัสหันขั้วเหนือออกจากแนวดิ่งถึง 98 องศา ทำให้ขั้วเหนือของดาวยูเรนัสกดต่ำลงไปอยู่ใต้ระนาบสุริยวิถีถึง 8 องศา เมื่อมองจากโลก จึงดูคล้ายกับว่า ดาวยูเรนัสหมุนรอบตัวเองกลับทิศกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ และมีลักษณะคล้ายกับ กลิ้งไปโดยใช้ด้านข้างตะแคงโคจรไปรอบดวงอาทิตย์
ด้วยเหตุนี้ ขณะที่ดาวยูเรนัสใช้เวลาเคลื่อนรอบ ดวงอาทิตย์ในเวลา 84 ปี บางช่วงดาวยูเรนัสจึง หันขั้วหนึ่งเข้าหาดวงอาทิตย์เกิดเป็นเวลากลางวัน ตลอดทั้งวัน ยาวนานอย่างน้อย 21 ปี ขณะที่ขั้วตรงข้ามเป็นเวลากลางคืนตลอดช่วงเวลานั้นด้วย และบางช่วงดาวยูเรนัสก็หันด้านข้าง เข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ขั้วทั้งสองต่างก็หันเข้าหาดวงอาทิตย์ พร้อม ๆ กัน จึงน่าสงสัยว่า การเอียงแกนผิดปกติเช่นนี้จะมีผลต่อการเกิดฤดูกาลบนดาวยูเรนัสอย่างไร
ประวัติการค้นพบดาวยูเรนัส
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2324 วิลเลียม เฮอร์เชล ( William Herschel ) นักดนตรีและ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวอังกฤษ ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 เซนติเมตร ส่องพบดาวยูเรนัสโดยบังเอิญ เห็นเป็นจุดริบหรี่ในกลุ่มดาวคนคู่
เนื่องจากดาวยูเรนัสอยู่ไกลมาก นับจากเมื่อ วิลเลียม เฮอร์เชล ค้นพบแล้ว ดาวยูเรนัสก็ยังคง ความลึกลับต่อมาอีกเกือบ 200 ปี นักดาราศาสตร์มีความรู้เกี่ยวกับดาวยูเรนัสน้อยมาก เพราะ มองเห็นได้จากกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ ๆ เท่านั้น เห็นเป็นจุดสีเขียวเล็ก ๆ ไม่เห็นรายละเอียด บนพื้นผิวดวง
นักดาราศาสตร์ค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวยูเรนัสครั้งแรกในปี พ.ศ.2330 และพบดวงจันทร์ ดวงที่ 5 ในปี พ.ศ.2491 จนในปี พ.ศ.2520 จึงค้นพบโดยบังเอิญว่าดาวยูเรนัสมีวงแหวน 9 ชั้น

โครงสร้างดาวยูเรนัส
ข้อมูลจากยานวอยเอเจอร์ 2 แสดงว่า ดาวยูเรนัสมีโครงสร้าง คล้ายดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ คือ มีใจกลางเป็นเหล็กและ หินแข็งขนาดเล็ก ร้อนจัด อุณหภูมิสูงราว 7,000 เคลวิน ภายใต้ความกดดันสูงมาก ถัดขึ้นมาเป็นชั้นน้ำแข็งมีเทนและ แอมโมเนียแข็งหนามากล้อมรอบใจกลางไว้ จากนั้นจึงเป็นชั้นของ ก๊าซไฮโดรเจน ฮีเลียม มีเทน แอมโมเนีย และน้ำแข็ง หนาหลายพันกิโลเมตร ที่เรามองเห็นเป็นตัวดวงดาวยูเรนัสนั่นเอง


ดาวยูเรนัสและบริวาร
บรรยากาศ
ประกอบด้วย ไฮโดรเจน ฮีเลียม มีเทน อะเซ็ตทิลีน และเนื่องจากก๊าซมีเทนในบรรยากาศ ชั้นบนดูดซับแสงสีแดงไว้ ทำให้เรามองเห็นดาวยูเรนัสมีสีน้ำเงินเขียว

บริวาร
นับจนถึงปี พ.ศ.2544 ค้นพบบริวารดาวยูเรนัสเพิ่มขึ้น มีบริวารที่กำหนดชื่อเป็นทางการจำนวน 20 ดวง และเพิ่ง ค้นพบใหม่อีก 1 ดวง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น